วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่7

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
         ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยและมากในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความสนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการ
สร้างสรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน

การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญ ด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
- การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วย
ปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
- นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและสิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
           ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ
กระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง

การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
2.หลักความยุติธรรม ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดย
ทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3.หลักพรหมวิหารได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความ
เคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่
นักเรียนด้วย
4.หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย
1. ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคน
เป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความ
เป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหว
ของสิ่งเหล่านั้นด้วย
3. ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิกเรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอคำปรึกษา ต้องการขอคำแนะนำในการหารายได้พิเศษ ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวลา
4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้อง
สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเรา  ได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียนและบรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถนำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้สอนกับนักเรียนหรือนักศึกษาและใช้ในชีวิตประจำวันได้



กิจกรรมที่6

กิจกรรมที่6 สรุปและแสดงความคิดเห็น
สรุปมาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู
ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ  การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
       สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้นคำว่ามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้างการพัฒนารวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพมีศักยภาพที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ

มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ

        วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพสามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพและตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษาและกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้นเนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะต้องใช้ความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา :สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
                มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
                มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
                - ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
                - ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
                - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                - พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
                - พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
                - รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
                - แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ 
   ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้อง  ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                - จรรยาบรรณต่อตนเอง
                - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อสังคม 
   
พื้นฐานและแนวคิด
โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ คือ
              - เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
              - เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
              - เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
          มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
                - สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
                - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                - สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน


 การนำไปประยุกต์ใช้
               การใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆกันขึ้นกับแต่ละสถาบันองค์กรสมาคมหรือสภาวิชาชีพต่างๆการประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพความต่างของขอบเขตการ
ใช้มาตรฐานด้วย
               เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูโดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภา
            มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพโดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู
               เป็นตัวชี้วัดหรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพตามมาตรฐานด้านความรู้ทักษะและประสบการณ์วิชาชีพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพเพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติเพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุดวิชาชีพใดๆย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆโดยต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะโดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ

กิจกรรมที่5

สิ่งที่ได้รับจากบทความเรื่องครูต้นแบบแห่งการเรียนรู้
        ดิฉันคิดว่าการที่เราทำอาชีพใดก็ตามนั้นเราต้องทำด้วยใจรักจริงก่อนเมื่อเรารักงานแล้วเราก็สามารถทำงานนั้นได้ดีและมีคุณภาพด้วย   ส่วนคำว่า ครูต้นแบบนั้น ที่ได้มานั้นเพราะเป็นคนที่รักในอาชีพของความเป็นครูจริงไม่ใช่ทำเพราะเหตุผลอื่นๆและการที่เขาทำนั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการยกย่องจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเลยเพื่อให้ได้มาซึ่งคำว่าครูต้นแบบและแค่ครูทำแต่สิ่งทำสิ่งดีและเป็นครูที่ดีช่วยสอนลูกศิษย์ให้เป็นคนดี   มีความรู้คู่คุณธรรม โดยการที่ครูนั้นสอนให้รู้  ทำให้ดู  อยู่ให้เห็น เพื่อครูได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกศิษย์แล้วและเสริมสร้างให้ลูกศิษย์เป็นคนดีและที่สำคัญสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ลูกศิษย์ในการเรียนรู้ให้เป็นคนที่จะใฝ่รู้และใฝ่เรียนมากยิ่งขึ้นและยังช่วยให้เป็นคนที่คิดทำแต่สิ่งดีจนเกิดเป็นนิสัยติดตัว
         เมื่อครูทำได้เช่นนี้ก็สามารถทำให้ลูกศิษย์เกิดความศรัทธาและเกิดความเชื่อมั่งในตัวครูอย่างแท้จริงแค่นี้ก็ถือว่าเป็นครูต้นแบบแล้วเพราะการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องถ้าเกิดว่าลูกศิษย์ได้ครูที่ดีสอนลูกศิษย์ก็จะดีด้วยทำให้ทั้งสองประสบผลสำเร็จพร้อมกันในที่สุด
         
การนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง
1.สามารถนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในการเป็นครูที่ดีในอนาคต
2.ทำให้เห็นคุณค่าของคำว่าครูที่ดีและครูเป็นผู้สร้างสรรค์ให้ลูกศิษย์ให้เป็นคนดีแลเก่ง
3.ทำตังเองให้ดีที่สุดในการเป็นครู
4.ครูต้นแบบที่ดีเกิดจากแรงบันดาลใจที่ดีและเป็นด้วยจิตวิญญาณ
5.สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและนำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นครูที่ดี



 

กิจกรรมที่4

กิจกรรมที่4 สรุปความเรื่องภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
      
       การที่เราจะเป็นผู้นำได้นั้นเราต้องเป็นผู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงและจะต้องเป็นผู้สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติโดยการเปิดใจให้กว้างและไม่ยึดติดกับความคิดของตนเองหรือความรู้เดิมที่ตนเองมีอยู่  การเป็นผู้นำนั้นจะต้องเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติเพราะการบริหารนั้นอาศัยการทำงานเป็นทีม  เป็นระบบที่ประกอบด้วยจิตใจ   จิตวิญญาณ  ความรู้สึก  ความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ไม่สามารถถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือหรือเขียนออกมาในรูปแบบของตัวหนังสือ
         ดังนั้นดิฉันคิดว่าการเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องตอบสนองการเปลี่ยนแปลงให้มากที่สุดเพื่อสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและที่สำคัญคือเป็นผู้ที่ให้ผู้อื่นมากกว่ารับและมีความเสียสละมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

     ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
    1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
    2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
    3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
    4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ



 ประวัติส่วนตัว
1.ข้อมูลทั่วไป
1 ชื่อ นางอังศินันท์  อินทรกำแหง  Mrs.Ungsinun  Intarakamhang   
2 ตำแหน่งปัจจุบัน
   2.1 ดำรงตำแหน่งวิชาการ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์
          ตำแหน่งบริหาร รองผู้อำนวยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ฝ่ายจัดการความรู้และกิจการพิเศษ
   2.2 สาขาที่ทำวิจัย สาขาพฤติกรรมศาสตร์ สาขาสังคมวิทยาและจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์สุขภาพ3 สถานที่ติดต่อ
              3.1 ที่ทำงานปัจจุบัน สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 026495174 โทรสาร 026495182
  E-mail: ungsinun@swu.ac.th

2. ประวัติการศึกษา
 ระดับปริญญาเอก   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (การศึกษานอกระบบโรงเรียน) สาขา การศึกษานอกโรงเรียน 2545
ระดับปริญญาโท   วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)มหาวิทยาลัยมหิดล  สาขา สุขศึกษา  2536
ระดับปริญญาตรี   พยาบาลศาสตร์บัณฑิต (การพยาบาลและผดุงครรภ์)วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย 2531
3. ประวัติการทำงาน
2531-2532      พยาบาลประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
2532-2536      พยาบาลประจำสถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศ
2537-2546     วิทยาจารย์ ฝ่ายพัฒนาบุคคล สภากาชาดไทย
2547-ปัจจุบัน  อาจารย์ ประจำ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
 4. ตำแหน่งหน้าที่อื่น ๆ
เป็นประธานคณะกรรมการศึกษา โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2547 จนถึงปัจจุบัน

5. สมาคมวิชาการและวิชาชีพ
5.1 สมาชิกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
5.2 สมาชิกสภาการพยาบาล
5.3 สมาชิกสมาคมนักฝึกอบรมแห่งประเทศไทย
5.4 สมาชิกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
5.5 สมาชิกสมาคมวิชาชีพสุขศึกษาแห่งประเทศไทย
5.5 สมาชิกสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย

 6. ผลงานวิจัยเผยแพร่และบทความ
 6.1 ผลงานวิจัยที่นำเสนอที่ประชุมระดับชาติและนานาชาติ

1.       Ungsinun  Intarakamhang and Tasana Thongpukdee.  (2005) Development of Academic Leadership Competency Model for Faculty Members in Public, Private and Public Autonomous University. Oral Presentation at  Asian Applied  Psychology International Regional Conference  (AAPI –RC) on 14-16 November 2005 at  Bangkok , Thailand.
2.       Ungsinun Intarakamhang and  Ashara Sucaromana. (2005). Synthesis of Research Studies in Thailand related to Emotional Intelligence.  Poster Presentation at  SASP 34th  Annual Conference , Townsville ,Australia on 8-10 April 2005.
3.       Ungsinun Intarakamhang.(2005). Synthesis of Research Studies in Thailand related to Emotional Intelligence.  Poster Presentation at  Asian Applied Psychology International regional Conference (AAPI – RC) on 16 November 2005 at Bangkok, Thailand.
4.       อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2548). การประมวลและสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับอีคิวในประเทศไทย.  เสนอในที่ประชุมวิชาการเนื่องในวันสถาปนา สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 24 สิงหาคม 2548    ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ชั้น 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
5.       อังศินันท์   อินทรกำแหง. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. นำเสนอปากเปล่าในที่ประชุมสัมมนาวิชาการในโอกาสครบรอบวันสถาปนา 51 ปีสถาบันสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2549 ณ ห้องประชุมชั้น 8 หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
6.       อังศินันท์   อินทรกำแหง. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิกฤตชีวิตของสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน.นำ เสนอโปสเตอร์ในที่ประชุมสัมมนาวิชาการทางพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนาบุคคล และสังคม เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ณ ห้องประชุมปฐมบริบท ชั้นล่าง อาคารประสานมิตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
7.       อังศินันท์   อินทรกำแหง.การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. นำเสนอปากเปล่าในที่ประชุม มศว วิชาการ  วันที่ 8 พฤศจิกายน 2549 ณ ห้องประชุมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
8.       อังศินันท์   อินทรกำแหง อัจฉรา  สุขารมณ์ และอรพินทร์ ชูชม. (2550). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.นำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2550 Thailand Research Expo 2007.ภาคนิทรรศการ ในวันที่ 7 -9 กันยายน 2550 ณ เซลทรัลเวร์ด  กรุงเทพฯ.
9.       Ungsinun Intarakamhang. (2007). Causal Relation Analysis and Indices of Midlife Crisis of Employed, Married Thai Women. Oral Presentation at the 4th International Postgraduate Research Colloquium “Harnessing Behavioral Science to Promote the Quality of Life”. 20 June 2007 at The research and Continuing Education Hall, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.  
10.   Ungsinun Intarakamhang. (2007) Causal Relation Analysis and Indices of Midlife Crisis of Employed, Married Thai Women. Partnership: Protection:Participation: Annual Conference and AGM 2007 Poster Presentation. 23 August 2007  At University of Waikato, Hamilton, New Zealand.

11.Ungsinun Intarakamhang.(2010). “Effect of Self Managing Life Crisis based on  the Oriental Approach toward Midlife Crisis and Well-being of Married Thai Woman in Bangkok” Oral Presentation  at  EAOHP   on 29-31 March, 2010  in  Rome, Italy 
12.อังศินันท์   อินทรกำแหง.สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย.นำเสนอปากเปล่าในที่ประชุม ศรีนครินทรวิโรฒวิชาการครั้งที่ 3 ในวันที่ 22 มกราคม 2552 ณ อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
6.2  บทความเผยแพร่ในฐาน TCI(ศูนย์การอ้างอิงวารสารไทยhttp://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/index.html) และฐานอื่น ๆ
              1.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2543, มีนาคม-มิถุนายน).  การเรียนรู้ผู้ใหญ่กับการพัฒนาการเรียนรู้      ในองค์กร. วารสารครุศาสตร์, (3):92-104.
              2.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2546, สิงหาคม). การเขียนบทความทางวิชาการ:สำหรับนักเขียน    มือใหม่. สารศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย. วันประชุมใหญ่สมาคมศิษย์เก่าฯ ประจำปี 2546.
             3.  อังศินันท์   อินทรกำแหง. (2547, กันยายน ตุลาคม). สมรรถนะจำเป็นของผู้นำทางวิชาการ: การเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารครุศาสตร์, 13 (1), 95-105.
               4.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2547). อิทธิพลของปัจจัยด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ภูมิหลังส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในองค์กรที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้ให้ บริการทางการแพทย์. หนังสือชุดปฏิรูปการศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน แนวทางการศึกษาและกิจกรรมที่หลากหลาย.มนัสาสน์ โกวิทยา บรรณาธิการ  ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 36-62.
             5.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2548). การวิจัยอนาคต: การศึกษาแนวโน้มบทบาทของ องค์กร. วารสารจิตวิทยา, 12(1),125-140.
             6.  อังศินันท์ อินทรกำแหงและอัจฉรา สุขารมณ์. (กันยายน, 2548). การประมวลและสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับอีคิวในประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 11 (1),1-18.
             7.  อังศินันท์ อินทรกำแหงและทัศนา ทองภักดี. (กันยายน, 2548). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านผู้นำทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชนและในกำกับของรัฐ.วารสารพฤติกรรมศาสตร์,11(1),51-72.
             8. อังศินันท์   อินทรกำแหง อัจฉรา  สุขารมณ์ และอรพินทร์ ชูชม. (2549,กันยายน). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัย กลางคนที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 12(1),49-71.
             9.  อังศินันท์   อินทรกำแหง อัจฉรา  สุขารมณ์ และอรพินทร์ ชูชม. (2550,กันยายน). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิกฤตชีวิตของสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานในภาค รัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน.วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 13(1),50-65.
             10.  Intarakamhang, U.  (2005). Synthesis of Research Studies in Thailand related to Emotional Intelligence.  Journal of psychology. 57 : Suppl.S 2005.
             11.  Intarakamhang, U. , Raghavan, Chemba  , Choochom, O. ,and Sucaromana, A. (2008, January). Causal Relation Analysis and Indices of Midlife Crisis of Employed, Married Thai Women. Journal of Population and Social Studies,16(2). 71-94.
             12.  Nongnuch Uthaisri, Manat Boonprakob,& Ungsinun Intarakamhang  (2007, September).The journal of Behavioral Science.2(1),1-9.
             13.  อังศินันท์   อินทรกำแหง. (กุมภาพันธ์,2550). แนวทางการเผชิญและการป้องกันภาวะวิกฤตชีวิตของสตรีไทยสมรสวัยกลางคน (ข้อค้นพบจากการวิจัย). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
             14. อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2551,กันยายน). สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคน ไทย.วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 14(1),135-150.
             15.  บังอร ฉางทรัพย์  พรรณี บุญประกอบ มนัส บุญประกอบ และอังศินันท์ อินทรกำแหง (กันยายน, 2551). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัย ในชุมชนแออัด : กรณีศึกษาชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 14(1),166-182.
            16.  อังศินันท์ อินทรกำแหง  อรพินทร์ ชูชม  วรสรณ์ เนตรทิพย์   พัชรี ดวงจันทร์. (2552,กันยายน). การบริหารจัดการและประเมินโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของ หน่วยงานในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1),28-38.
             17.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(ธันวาคม, 2552). ผลการใช้โปรแกรมการจัดการภาวะวิกฤตชีวิตด้วยตนเองตามแนวตะวันออกที่มีต่อการ รับรู้ภาวะวิกฤตชีวิตและความสุขใจของสตรีไทยสมรสวัยกลางคนในกรุงเทพมหานคร. วารสารพัฒนาสังคม, 11(2), 29-59.
             18.  Ungsinun Intarakamhang. (2009,September). . The Journal of Behavioral Science, 4(1), 44-59.
          19. วิริณธิ์ กิตติพิชัย  อังศินันท์ อินทรกำแหง และจุฑามาศ แก้วพิจิตร. (มกราคม, 2553). การประเมินผลหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา (นบอ.) ตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารมหาวิทยาลัยใหม่. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 16(1), 56-70.
             20.  อังศินันท์  อินทรกำแหง ทัศนา ทองภักดี และ วรสรณ์ เนตรทิพย์. (กรกฎาคม, 2553). ผลการจัดการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนใน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 16(2), 96-112.
             21.  อรพินทร์  ชูชม อัจฉรา สุขารมณ์ และอังศินันท์  อินทรกำแหง. (กรกฎาคม ,2553). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว-งานกับคุณภาพชีวิต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 16(2), 33-49.
             22.  Intarakamhang, U and Thongpukdee,T . (December, 2010). Effects of Self Managing Life Crisis  Based on the Oriental towards Life Crisis and Well-being of  Married  Women. International Journal of Psychological Studies, 2(2).

6.4   หนังสือ/เอกสาร
                1.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2549). เอกสารประกอบการสอน วป 722 ผู้นำ สมาชิกและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. จำนวน  140 หน้า  
                2.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2551). เอกสารคำสอน วป 591 การคิดถูกวิธี .กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. จำนวน  416 หน้า  
                3.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2552). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self ด้วยหลัก PROMISE Model. กรุงเทพฯ: บริษัท สุขขุมวิทการพิมพ์. จำนวน 193 หน้า

7. งานวิจัย/โครงการวิจัย
7.1  ผลงานวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้ว
1.  การศึกษาบทบาทของสภากาชาดไทยภายในปี พ.ศ.2556        ปี 2542 (เลขาฯ โครงการ)
2.  รายงานการศึกษาโมเดลการพัฒนาดัชนีชี้วัดผลสำเร็จขององค์กร ปี 2545(หัวหน้าโครงการ)
3.  รายงานการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรสภากาชาดไทย 2547 (หัวหน้าโครงการ)
4.  การประมวลและสังเคราะห์งานวิจัย เกี่ยวกับอีคิวในประเทศไทย ปี 2548 (หัวหน้าโครงการ)
5.  การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านผู้นำทาง วิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และในกำกับของรัฐ ปี2549 (หัวหน้าโครงการ)
6.   การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัย กลางคน ที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2550(หัวหน้าโครงการ)
7.   การวิจัยและพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาของเยาวชนไทย ปี 2550
8.   การศึกษา เครื่องชี้วัดและปัจจัยด้านการถ่ายทอดทางสังคมของพลังปัญญา ของเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานคร ปี 2550
 9.   สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย ปี 2551 (หัวหน้าโครงการ)
10.  การวางระบบมาตรฐานการพัฒนาข้าราชการก่อนปฏิบัติงานราชการ  ปี 2551
11.   การบริหารจัดการและประเมินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานในเขตกรุงเทพมหานคร ปี2551-2552 (หัวหน้าโครงการ)
12.  การประเมินหลักสูตรเสริมสร้างพัฒนาความเข้มแข็งด้านบริหารของมหาวิทยาลัยใหม่ ปี 2552
13.  การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต ปี 2553
14.  ผลการพัฒนาครูด้านจิตลักษณะและทักษะการสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการอบรมนักเรียนของคร
ูและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นปี2553
15.  ผลการใช้วิธีการจัดการภาวะวิกฤตชีวิตตามแนวตะวันออกที่มีต่อภาวะวิกฤตชีวิต ของสตรีไทยสมรสวัยกลางคนในกรุงเทพมหานคร(หัวหน้าโครงการ) ปี2551 -2553 (หัวหน้าโครงการ)
16.  การบริหารจัดการและประเมินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปี2552-2553 (หัวหน้าโครงการ)
17.  การบริหารจัดการและประเมินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ปี2552-2553 (หัวหน้าโครงการ)
18.  การบริหารจัดการและประเมินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพขององค์กรไม่หวังผลกำไรในเขตกรุงเทพมหานคร ปี2552-2553 (หัวหน้าโครงการ)
19.  การติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลภาพรวมและศักยภาพในการบริหารจัดการระบบ HiPPS ของทุกส่วนราชการที่มีข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในรุ่นที่ 1-3  ปี 2553 (หัวหน้าโครงการ)

7.2  งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ
  1.   โครงการบริหารจัดการและประเมินโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใน กลุ่มโรคเมตาบอลิกของสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร ปี2553-2554 (หัวหน้าโครงการ)

บรรณาธิการ
1. บรรณาธิการ วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 กันยายน 2550
2. บรรณาธิการ วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 กันยายน 2551
3. ผู้ช่วยบรรณาธิการ วารสาร ศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 1 ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน 2552 และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2552  ปีที่ 2 ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน 2553 และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2553

คำสัมภาษณ์วิทยุ  เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของภาวะวิกฤตสตีไทยสมรสวัยกลางคนในรายการ
             1.  วิทยุ FM 92.2 วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2550 เวลา 20.10 – 20.40 น. ในรายการของมูลนิธิ เครือข่ายครอบครัว  โดยมีพิธีกรคือ คุณรัศมี  มณีดิน
             2.  วิทยุ FM 100.5 อสมท. เนื่องในวันแม่ 12 สิงหาคม 2550 เวลา 09.10 -09.40 น.
             3.  รายการโทรทัศน์ ช่อง UBC 7  Life and New โดยออกรายการสนทนาผ่านทางโทรศัพท์ ในวันอาทิตย์ที่ 22  กรกฎาคม 2550 เวลา 21.20 -21.30 น. โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกรมสุขภาพจิต   

8. รางวัลวิชาการที่ได้รับ
1.  รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น จากสำนักงานกองทุนวิจัย (สกว.) และ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.) ปี 2551
2.  รางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี 2551 รางวัลรายงานการวิจัยระดับชมเชย จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
3.  รางวัลเกียรติคุณ  “ต้นไม้ที่เติบโตแห่งการวิจัยนักวิจัยระดับกลาง สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประจำปี 2553 ให้ไว้ ณ วันที่ 28 เมษายน 2553 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
4.  เกียรติบัตร ยกย่องสรรเสริญ  ผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2548 – ปัจจุบัน  ให้ไว้ ณ วันที่ 9 กันยายน 2552
5.  รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นสาขาการบริหาร  ของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย ให้ไว้ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2553 
6. เกียรติบัตรเสนอผลงานวิจัยดีเยี่ยมแบบบรรยาย ในการประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ระหว่างวันที่ 14 -16 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมรีเจนฮอลิเดย์อิน จ.เพชรบุรี ของ สกว.ร่วมกับ สกอ.


9.   ประสบการณ์ในวิชาที่สอน
                วป 722 ผู้นำ สมาชิกและการพัฒนาองค์การ ระดับปริญญาโทและเอก
                วป 591 การคิดถูกวิธี ระดับปริญญาโทและเอก
                วป 581 การถ่ายทอดทางสังคมกับพัฒนาการของมนุษย์ ระดับปริญญาโท
                วป 791 การบริหารจัดการโครงการ ระดับปริญญาเอก
                วป 884 สัมมนาสังคมศาสตร์เชิงพฤติกรรม ระดับปริญญาเอก
                วป 734 ปรีชาเชิงอารมณ์กับคุณภาพชีวิตและการทำงาน ระดับปริญญาเอก
               วป 803 ปฏิบัติการวิจัย ระดับปริญญาโท

ชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
ชอบการทำงานและการศึกษาเขาเพราะเป็นบุคคลที่มากความสามารถในหลายด้านและยังเป็นนักวิจัยที่รับรางวัลทางวิชาการมากมายเช่น
1.  รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น จากสำนักงานกองทุนวิจัย (สกว.)
2.  รางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี 2551

3.  รางวัลเกียรติคุณ  “ต้นไม้ที่เติบโตแห่งการวิจัยนักวิจัยระดับกลาง สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประจำปี 2553
4.  เกียรติบัตร ยกย่องสรรเสริญ  ผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกรุงเทพมหานคร
5.  รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นสาขาการบริหาร  ของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย ให้ไว้ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2553  เป็นต้น





กิจกรรมที่2

หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา
1.ทฤษฎีแรงจูง ใจ ของมาสโลว์        เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่ เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs)
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs)
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs)
4.ความต้องการยกย่องชื่อ เสียง (Esteem Needs)
5.ความต้องการที่จะรู้จัก ตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)
มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์ มีความต้องการอยู่เสมอ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของ พฤติกรรมนั้น ๆ อีก
3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ 

2.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์
      เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐาน ของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิด ข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตน เองมากกว่าองค์การ
4. คนมักต่อ ต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย

      ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
   ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎี ข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
1. คนจะให้ความ ร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิด ริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะ พัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

       ผู้บังคับบัญชาจะไม่ ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ ค่อนข้างให้อิสระภาพ

3.ทฤษฎี Z ของอูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่น
       ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอด คล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การสรุปเพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้ บังคับบัญชา
4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

แหล่ง ที่มา
การบริหารการศึกษา” www.kru-itth.com



 

กิจกรรมที่ 1

การจัดการชั้นเรียนและการบริหารการศึกษา หมายถึง
   การจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
    
 การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกขอสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542:)

   

ประวัติส่วนตัว


                                                           ประวัติส่วนตัว



ชื่อ-สกุล  นางสาวสีตีฝาตีม๊ะ  แขวงเส็น
ชื่อเล่น ฮ๊ะ
จบจากโรงเรียน  ดารุลมาอาเรฟ  จังหวัดสตูล
เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 7 หมู่7 ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล91140
สีที่ชอบ สีฟ้า
วิชาที่ชอบ ภาษาไทย
ความใฝ่ฝัน เป็นครูภาษาไทยที่ดี
เบอร์โทรศัพท์ 086-2826706
หนังสือที่ชอบอ่าน หนังสือเกี่ยวกับปรัชญาชีวิต
ประวัติการศึกษา
อนุบาล โรงเรียนบ้านควน
ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านเกตรี
มัธยมศึกษา โรงเรียนดารุลมาอาเรฟ
ปัจจุบันศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชในวิชาเอกภาษาไทยคณะ
ครุศาสตร์
คติประจำใจ
คนทุกคนมีความฝันต่างความคิด     ทุกชีวิตไม่หยุดนิ่งเพราะความฝัน
มีเส้นชัยนั้นรออยู่พร้อมรางวัล          ต้องฝ่าฟันไปให้ถึงจึงได้มา
นิสัยส่วนตัว
เป็นคนมุ่งมั่นในการทำงานและใฝ่เรียนรู้และเป็นคนมีเหตุผลในทุกเรื่อง
และสำคัญเป็นร่าเริงและชอบสนุกสนาน
สิ่งที่คาดหวังในอนาคต
1. เรียนจบได้รับราชการครู
2. เป็นครูแล้วกลับไปพัฒนาบ้านเกิด
3. เปิดร้านขายดอกไม้
4 .ช่วยเหลือคนยากจนและทำงานเพื่อสังคม
5 .เปิดร้านให้แม่ขายของชม
6 .จัดตั้งชุมรมกีฬาเพื่อสุขภาพ