วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินการใช้เครื่องมือบล็อกนี้

การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ตอบ มีความสะดวกมาก จะส่งเวลาไหนก็ได้ ขอแค่มีอินเตอร์เน็ตใช้เพราะบางทีเวลาในคาบเรียนน้อยไม่พอต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน และเวลาส่วนใหญ่ผมจะทำงานตอนกลางคืน เวลาทำงานเสร็จก็จะได้ส่งเลยไม่ต้องรอส่งในคาบเรียนและไม่ต้องพิมพ์ลงกระดาษให้เปลืองกระดาษและอาจารย์จะตรวจตอนไหนก็ได้

2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ตอบ ได้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบล็อกมากและวิธีการตกแต่งบล็อกให้สวยงาน น่าสนใจ  การใช้เครื่องมือในการเสนองานและวิธีการนำเสนองานได้หลากหลาย สุดท้ายได้วิธีการสร้างภาพสไลด์โชว์ในบล็อกเป็นการประหยัดเนื้อที่ในคอมพิวเตอร์

3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตอบ ข้อดี  จากการเรียนวิชากาจัดการในชั้นเรียน โดยวิชานี้มีความแตกต่างกับวิชาอื่นโดยอาจารย์ได้สอนความรู้ใหม่ๆให้กับผมโดยผมได้รับความรู้ในการทำ Web Blog  เป็นของตัวเอง ถ้าผมไม่ได้เรียนกับอาจารย์ก็คงยังไม่รู้จักการตกแต่งบล็อก แต่วันนี้ผมรู้จักและมีความรู้พอที่จะนำสิ่งที่ได้รับไปใช้ในได้จริง ผมจึงประทับใจในการทุ่มเทของอาจารย์มากที่สอนสิ่งที่ดี สิ่งที่ใหม่ที่เป็นประโยชน์ทำให้ชีวิตการเป้นครูในอนาคตของผมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อเสีย การสอนของอาจารย์อาจจะไม่ละเอียดในด้านเนื้อหามากนัก และรวมทั้งเลือกใช้การสอนโดยใช้ Web Blog โดยเกิดความลำบากในการเรียนของผมและยังไม่สะดวกเพราะอินเตอร์เน็ตในมหาวิทยาลัยไม่แรงพอ จึงเกิดปัญหาในการเรียน และทุกคนยังไม่มีคอมที่จะใช้งาน อาจารย์ควรสอนในห้องคอมเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้
ข้อเสนอแนะ ถ้าหากอาจารย์จะสอนการใช้ Web blog แล้วละก็ควรที่จะหาห้องเรียนที่มีคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะรองรับนักศึกษาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ในการเรียน ส่วนในเรื่องของเนื้อหาวิชาเรียน การบริหารจัดการในชั้นเรียน ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในชั้นเรียนเพื่อที่จะให้นักศึกษาคุ้นเคยกับห้องเรียน การสอนควรที่จะพูดเร็วพอประมาน

4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบครั้งที่2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1.Classroom management 
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าห้องเรียนนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด นั้นขึ้นอยู่กับครูผู้สอน  และครูก็จะต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้เรียนด้วย
 2. Happiness Classroom การจัดห้องเรียนให้มีความสุข โดยครูกับนักเรียนต้องให้ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดผลดีต่อผู้เรียนและผู้สอนและเด็กกับครูก็จะมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญต่างกันออกไป
3. Life-long Education หมายถึง การรับรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลเกิดการพัฒนาด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจ
4. formal Education  เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา
5. non-formal education  หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือกระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนทั้งที่เป็นทัศนคติทักษะและความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป
6. E-learning   การเรียนการสอนในลักษณะหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซเรย์ หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม
7. Graded การเรียนระดับชั้น ก็คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก
8. Policy education  นโยบายการศึกษา      ด้านการศึกษามีดังนี้
      1.ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต
            2.ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ
          3.พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพและลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียนมีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครูควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า
            4.จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี ๑๕ ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายพร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากร
            5.ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศโดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดี
            6.ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น
            7. ส่งเสริมให้เด็กเยาวชนและประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
            8.เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษาและในชุมชนโดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติและยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นหลัก

9.Vision วิสัยทัศน์ คือ การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคตโดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิมวิสัยทัศน์จะเกิดจากการรู้จักคิดโดยใช้ปัญญาและมุ่งมั่นให้เกิดขึ้นจริงซึ่งวิสัยทัศน์ที่ดีนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะ8ประการดังนี้
            1.มุ่งเน้นอนาคต
            2.เต็มไปด้วยความสุข
            3.ความเหมาะสม
            4.สะท้อนความฝันสูงสุด
            5.อธิบายจุดมุ่งหมาย
            6.ดลบันดาลความกระตือรือร้น
            7.สะท้อนความเป็นหนึ่งเดียว
            8.ความมักใหญ่ใฝ่สูง
10. Mission พันธ์กิจมีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธานพันธ์กิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals เป้าหมาย คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้นแต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝันและสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ
12. Objective หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงทีเราต้องการจะไปหรือเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
13. backward design การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูพันธ์ใหม่หรือมืออาชีพเพื่อเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกันครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่องแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับเพื่อนครูผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครูทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติแล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น14. effectiveness คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้องและครูควรปฎิบัติในหน้าทีของตนเองให้ดีที่สุด
15.efficiency คือการทำงานอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพต่อตนเองและ
ผู้อื่นเป็นอย่างดี

16.Economy เศรษฐกิจ คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภค ซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่าง จากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้าง ดังนี้
          1. การผลิต คือ การกระทำเพื่อให้เกิดผลที่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้หากการกระทำใดซึ่งผลของการกระทำแม้จะมีคุณค่ามีประโยชน์แต่ไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้การกระทำนั้นในความหมายทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นการผลิตและผลของการกระทำก็ไม่เรียกผลผลิตอาจจะเรียกเป็นผลงาน
         2.การจำหน่ายคือการนำผลผลิตไปเสนอต่อผู้ที่มีความต้องการหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือการนำผลผลิตไปสู่ตลาด เพื่อให้เกิดการซื้อขายกันขึ้น
    3.การบริโภคคือการจับจ่ายใช้สอยรวมถึงการรับประทานด้วยจะมองเห็นได้ว่าเศรษฐกิจนั้นจะเน้นที่ราคาหรือเงินของบางสิ่งถึงแม้จะมีประโยชน์ซึ่งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตจะขาดเสียมิได้ เช่น อากาศสำหรับหายใจแต่เนื่องจากอากาศมีอยู่ทั่วไปซื้อขายกันไม่ได้อากาศจึงไม่ถือเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจแต่ถ้ามีคนเอาอากาศนั้นมาบรรจุในภาชนะเพื่อจำหน่ายอากาศเช่นนั้นก็กลายเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจไปดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจจึงต้องเกี่ยวข้องกับราคาหรือเงิน
17. Equity  ความเสมอภาคมีหลักความเสมอภาคอาจแยกได้2 ประเภท ดังนี้คือ
            1. หลักความเสมอภาคทั่วไป
หลักความเสมอภาคทั่วไปเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคนที่อาจกล่าวอ้างกับการกระทำใด ๆ ของรัฐได้ เช่น ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 ว่า "บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน"
         2. หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง
หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง คือ หลักความเสมอภาคที่ใช้เฉพาะภายในขอบเขตเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชายและหญิง ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนั้นยังปรากฏในมาตรา 54 "บุคคลอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือ"
พัฒนาการแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและความเสมอในด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญไทย
18.Empowerment การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมีและดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจเพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิตวิถีการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19.Engagement การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วยคือไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กรรู้สึกดีกับองค์กรก็เลยไม่อยากไปไหนแต่ก็ไม่สามารถสร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20.Project หมายงถึงโครงการคือโครงการ คือกิจกรรมหรือแผนงานที่เป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่สามารถทำการวิเคราะห์วางแผนและนำไปปฏิบัติพร้อมทั้งมีลักษณะแจ้งชัดถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดโดยแผนสำหรับกิจการต่างๆต้องระบุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาที่กำหนดแต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน ดังนั้นโครงการ จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย
21.Actives คือความอดทนการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไปของเสียของหอมของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้ คุณธรรมอันนั้นคือ ขันติ
22.Ladership ความเป็นผู้นำคือกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าพยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้นชี้นำผลักดันให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นมีความเต็มใจและกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่างๆตามต้องการโดยมีความสำเร็จของกลุ่มหรือองค์การเป็นเป้าหมาย
23.Leaders การเขียนคือ การสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์ที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝนการเขียนเป็นการแสดงความรู้ความคิดความรู้สึกความต้องการเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจได้ทราบความรู้ความคิดความรู้สึกความต้องการแล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับเครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา สี พู่กัน กระดาษ กระดาน ฯลฯ การเขียนจะต้องเขียนเป็นภาษาซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้
24. Follows เวลาทำคือเวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของ ไอแซก นิวตัน  อีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของ อิมมานูเอล คานต์  และ กอตฟรีด ไลบ์นิซ
            บางทีมุมมองทั้งสองเกี่ยวกับเวลาก็ยังน่าสับสนอยู่จึงมีการนิยามโดยการปฏิบัติซึ่งมักใช้การเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นคาบของวัตถุเป็นตัววัดเวลา เช่น ดิถี (ข้างขึ้นข้างแรม) ของดวงจันทร์ การแกว่งของลูกตุ้ม การขึ้นและตกของตนเอง
25.Situations สถานการณ์คือสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวยสำหรับมนุษย์ที่ต้องการความสะดวกสบายในการดำเดินชีวิตประจำวัน
26. Self awareness การรู้จักตนคือการเข้าใจความรู้สึกของตนเองและจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาวตลอดจนการรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27.Communicatioการสื่อสารคือขบวนการถ่ายทอดความรู้สึกคิดสู่กันในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงการส่งสัญญาณข่าวสารที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สู่กันขบวนการสื่อสารที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และตัวกลางผู้นำข่าวสารไปสู่ปลายทาง การสื่อสารดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของการสื่อสารแบบจุดต่อจุด(จากผู้ส่งไปสู่ผู้รับโดยตรง)หรือแบบกระจาย(จากผู้ส่งไปสู่กลุ่มผู้รับ)
 28.Assertivenessคือความกล้าแสดงออกคือพฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์เชิงบวกเพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตนหากเขาไม่เห็นด้วยหรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตามมอบ
29.Timemanagement การบริหารเวลาการบริหารคือการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
30.POSDCoRB การบริหารงาน–Planningคือการวางแผน   O–Organizingคือการจัดองค์การ S–Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน  D–Directing คือการสั่งการ Co–Coordinating คือความร่วมมือ R–Reporting คือการรายงาน B–Budgeting คืองบประมาณ
31.Formal  การพูดอย่างเป็นทางการได้แก่การพูดหรือสนทนากันอย่างมีพิธีรีตองเป็นการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ และเพื่อจุดมุ่งหมายต่างกันเป็นการพูดที่มีแบบแผนเป็นพิธีการต้องอาศัยความรู้ความสามารถ ศิลปะในการพูดและบุคลิกภาพในการพูดซึงสิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนและฝึกฝนเป็นอย่างดี ภาษาต้องสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
32. Informal Leaders ผู้นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานเพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหรือให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์การ
33.Environment คือสิ่งแวดล้อสิ่งคือสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่ประกอบกันเป็นแหล่งที่อยู่
34.Globalization  คือโลกาภิวัตน์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้นคือสภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกันจนเกิดแบบแผนและพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
33.Environment  คือความสามารถเชิงสมรรถนะหรือสมรรถนะหมายถึงคุณลักษณะทั้งในด้านทักษะความรู้และพฤติกรรมของบุคคลที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงานที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34. Organization Cultural คือวัฒนธรรมองค์กรพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยกันเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตนดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรก็คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
35. Individual Behavior  คือพฤติกรรมของคนแต่ละคนทัศนคติของผู้คนที่อยู่ในสังคมตั้งสองคนขึ้นไป  
37.Organization Behavior  คือแนวทางในการปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งมาจากสิ่งที่คนนำเข้ามาในองค์การได้แก่ความสามารถความคาดหวัง
38.Team working  คือการทำงานเป็นทีมเป็นวิธีที่ดีในการดึงขีดความสามารถของบุคคลมาใช้ทีมที่มีสมรรถนะการทำงานสูงต้องมีความเชื่อถือไว้ใจซึ่งกันและกันระหว่าสมาชิกในทีม
39.SixThinkingHats คือ หมวกหกใบหกสีแต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้าสีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวกสีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วยสีขาวสีขาวเป็นกลางไม่มีอคติไม่ลำเอียงหมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลขสีแดงสีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาลและอารมณ์สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์ สีดำสีดำคือข้อควรระวังและคำเตือนซึงจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆสีเหลืองให้ความรู้สึกในทางที่ดีหมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวกรวมถึงความหวังและคิดในแง่ดีด้วยหมวกสีเขียวหมายถึงความคิดริเริ่มและความคิดใหม่ๆสีฟ้าหมายถึงการควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ
40.Classroom Action Research คือการวิจัยในชั้นเรียน เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไปหรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งผลการวิจัยที่ค้นพบนี้ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับกลุ่มอื่นๆได้เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงจำกัด หรือเป็นปัญหาเฉพาะที่ เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนบางอย่างที่ครูต้องการคำตอบมาอธิบายเฉพาะที่เกิดขึ้นในห้องที่ตนรับผิดชอบอยู่เท่านั้นไม่เกี่ยวกับปัญหาของห้องเรียนอื่นๆการศึกษาปัญหาลักษณะนี้เรียกว่า การวิจัยในชั้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบ

คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
ตอบClassroom management คือ ความสามรถในการจัดการห้องเรียนหรือการจัดการในชั้นเรียน เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ ถ้ามีการจัดการชั้นเรียนที่ดี การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่เหมาะสมเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน จะช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบมาตรฐานวิชาชีพครูเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพ มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู

3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
ตอบควรจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียนตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ห้องเรียนควรมีบรรยากาศสดใส สะอาด สว่าง ปลอดโปรงกว้างขวางเหมาะสมในการเรียน มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน และควรมีการเรียนการเรียนการสอนแบบ Student Centered ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ตอบจัดโรงเรียนให้สะอาดร่มรื่น เรียบง่าย มีชีวิตชีวา วัสดุอาคารสถานที่ได้รับการดูแล มีความปลอดภัย มีการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เห็นแบบอย่างและสิ่งที่ดีจะได้ซึมซับกับสิ่งเหล่านั้น และอยากที่จะมาโรงเรียนอยากเข้าชั้นเรียนมากขึ้น
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ตอบคุณภาพผู้เรียนคือการที่ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขจิตดี เป็นผู้ที่มีความสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ก้าวไกลสู่สากล และมีความเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ต้องอาศัยการดำเนินการพัฒนาในกระบวนการต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันทั้งกระบวนการด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล เช่น การจัดกิจกรรมหรือโครงการในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนในด้านต่างๆและการมีจิตสาธารณะ
6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบการที่จะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนนั้นควรที่จะสอดแทรกไว้ในกิจกรรมของวิชาต่างๆเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติได้จริงหรือได้ซึมซับคุณธรรมจริยธรรมเหล่านั้น เช่น การสอดแทรกโดยใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งทางผู้สอนได้คัดเลือกแล้วว่าสื่อการเรียนรู้ดังกล่าวมีเนื้อหาสอดคล้องกับรายวิชาและสามารถสร้างจิตสำนึกหรือปลุกเร้าให้นักศึกษาได้ซึมซับคุณธรรม จริยธรรมเหล่านั้นที่ต้องการให้เกิดกับตัวผู้เรียน


กิจกรรมที่14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดี อย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบวิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด การเขียนแผนที่ความคิดเกิดจากการใช้ทักษะทั้งหมดของสมอง หรือเป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้ง 2 ซึก คือ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา
สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำภาษา สัญลักษณ์ ระบบ ลำดับความเป็นเหตุเป็นผล ตรรกวิทยาฯ
ส่วนสมองซีกขวา ทำหน้าที่สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ โดยมีเส้นประสาทส่วนหนึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงสมองทั้งซีกซ้ายและขวา ให้ทำงานประสานกัน
วิธีการเขียนแผนที่ความคิด  แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอหรือปากกา มาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ
แผนที่ความคิด ( Mind Map ) ใช้ได้กับอะไรบ้าง  แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) นำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัว และกิจกรรม ในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา และอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ
การเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )  การ เรียนรู้วิชาต่าง ๆ ใช้แผนที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้เด็กเล็กจะเขียนแผนที่ ความคิดได้ตามวัยของตน ส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้นตามเนื้อหา และวัยของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใด แผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
เทคนิคการสอนแบบหมวก 6ใบ (six thinking hats)  เป็นการรวมความสอนด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน  ทำ ให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้ คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
ส่วนการเรียนการสอนแบบโครงการ  เป็นการผสมผสานรูปแบบการ เรียนการสอนต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนแบบลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่องที่เด็กสนในและเป็นเรื่องที่เด็ก เลือกเรียนเอง จึงทำให้เด็กมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ กำหนดคำถามที่ตนเองสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบและรับผิดชอบต่องานที่ทำ
ตัวอย่างเช่น  วิธีการสอนแบบโครงการจะใช้คำถามที่นำไปสู่การทดลอง เป็นการเรียนการสอนแบบลงปฏิบัติ  การค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง ส่วนวิธีการสอนแบบหมวก  6 ใบ จะใช้คำถามนักเรียนจะใช้ความคิดนี้ไปใช้ทำอะไร นักเรียนก็จะคิดมองทีละด้าน หลายๆแบบแล้วสรุปเป็นความคิดใหม่ ที่จะสามารถให้นักเรียนมีความรอบคอบและรอบด้านในเรื่องที่ศึกษา

กิจกรรมที่13

The Healthy Classroom : --------------โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์       แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
ในวันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ
1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน
2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง
3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom
เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนช้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่องความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทาลายสิ่งของ
คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
1) ในปัจจุบัน เด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
2) ในปัจจุบันเด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด (ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถามคาถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกาลังกายไหม)
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด (ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง (มีชื่อเสียง)
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทาความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต (สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา (วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่ (หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา
จากคำถามดังกล่าวให้สรุปและตอบลงในบล็อกของนักศึกษาด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting (2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ(Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน


วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

กิจกรรมที่11
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
       
        ปัจจุบันการศึกษาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดของมนุษย์  เพราะการศึกษามีบทบาทต่อการพัฒนา  ความมั่นคง  ความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นอันมาก  การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์และการสร้างพลังในการพัฒนาประเทศ  ดังนั้นการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกด้าน   ได้แก่ ร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  สังคม  และมีคุณธรรม  มีความรู้  จริยธรรมและมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข  การจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงต้องเป็นการศึกษาที่ต่อเนื่องตลออดชีวิต
      การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี  ความรู้คู่คุณธรรม  ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์  และมีวิสัยทัศน์ที่ดีกว้างไกล  ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

หลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
 .เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
.มีการเรียนรู้หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว  หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
.เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
.เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
.เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผุ้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุขโดยครูผู้สอนต้องลดบทบาทและปรับเปลี่ยนกระบวนการของตนจากการเป็นผู้บอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนมาเป็นผู้สนับสนุน  ผู้ชี้แนะ  ที่ปรึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนมากที่สุดตามศักยภาพของแต่ละบุคคล จัดประสบการณ์ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง  โดยมีครูและนักเรียนร่วมกันบอกแหล่งความรู้การพัฒนาความมั่นคง  ความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นอันมาก  การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์และการสร้างพลังในการพัฒนาประเทศ  ดังนั้นการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกๆด้าน   ได้แก่ ร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  สังคม  และมีคุณธรรม  มีความรู้  จริยธรรมและมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข  การจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงต้องเป็นการศึกษาที่ต่อเนื่องตลออดชีวิต

 

                                            แผนการจัดการเรียนรู้
                          
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยที่   พูดดีมีเสน่ห์                                                  เวลา        ชั่วโมง
เรื่อง   วิเคราะห์วรรณกรรม                                              เวลา         ชั่วโมง
  
                                                                                 วันที่…..เดือน…….......

มาตรฐาน ท ๑.. ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ติดสินใจแก้
                                  ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

มาตรฐาน ท ๕. เข้าใจและแสดงความคิดเห็นวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย
                                 อย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง


สาระสำคัญ
     การอ่านวิเคราะห์เนื้อหาจากบทเรียนเป็นการเพื่อจับใจความสำคัญแล้วแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์และประเมินค่า เป็นพื้นฐานที่จำเป็นในการศึกษาหาความรู้  จึงควรฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ  จนสามารถวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น ในงานเขียนทุกประเภทได้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑.  นักเรียนจับใจความสำคัญของเรื่องได้ 
๒.  นักเรียนแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ และประเมินค่าได้อย่างมีเหตุผล
๓.  นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องได้
  
สาระการเรียนรู้
  บทเรียนเรื่อง  เพื่อนกัน”   แสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์และประเมิน

กระบวนการจัดการเรียนรู้
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนการเรียนรู้
๒.  สนทนากับนักเรียนเรื่อง  การพูด  ,  มีเสน่ห์  ”   ว่ามีความหมายอย่างไร  มีความสำคัญอย่างไร 
๓.  ครูยกตัวอย่างเรื่องจากประสบการณ์ให้นักเรียนฟัง  เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้กล้าแสดงออก
     ในการตอบคำถาม
๔. นักเรียนอ่านเรื่อง  พูดดีมีเสน่ห์”    ในใจแล้วจับใจความสำคัญ
๕.  แบ่งนักเรียนออกเป็น   กลุ่ม  โดยคละความสามารถ  (  เก่ง  ปานกลาง  อ่อน ) 
ให้สมาชิกแต่ละคนมีหมายเลขประจำตัว ,,,,,  ให้นักเรียนศึกษาหัวข้อต่อไปนี้
      กลุ่ม ๑  สรุปใจความสำคัญของเรื่องพูดดีมีเสน่ห์”   
     กลุ่ม ๒  บอกจุดประสงค์ของเรื่อง และความเป็นมาของเรื่อง
      กลุ่ม ๓  จัดลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร อย่างไร
      กลุ่ม ๔  สรุปและข้อคิดจากเนื้อเรื่อง
      กลุ่ม ๕  ตัวละครและลักษณะนิสัยของตัวละคร
๗.  นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารายงานหน้าชั้น   พร้อมส่งเอกสารที่ครู  เพื่อเก็บไว้ในแฟ้มสะสมงาน
 ๘.  นักเรียนสรุปความรู้เป็นแผนผังความคิดส่งครู   เพื่อเป็นการสรุปบทเรียน

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
. เรื่องเล่าประกอบการเรียน
. แบบทดสอบก่อนหลังเรียน
. หนังสือเรียน  วิชาภาษาไทย  ชั้น ม. ๑
. เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
. แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม และผลงานระหว่างเรียน

 กระบวนการวัดผลประเมินผล
๑.วิธีการวัดและประเมินผล
     ๑.๑ กิจกรรม-พฤติกรรมที่ประเมิน
      . สังเกตพฤติกรรมด้าน ความพอเพียง
      . ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
       ๓. ประเมินพฤติกรรมและผลงานระหว่างเรียน

๒.   เครื่องมือประเมินผล
      .แบบประเมินการสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินผลงาน
    .แบบทดสอบก่อนเรียน
      ๓.แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม และผลงานระหว่างเรียน

. วิธีการประเมิน
      .สังเกตรายบุคคล
    .ตรวจงานรายบุคคล
    .สังเกตพฤติกรรม และผลงานระหว่างเรียน
.เกณฑ์การประเมิน
   .สังเกตการอ่านผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘o
   .การตรวจผลงานผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ๘o

กิจกรรมที่10

กิจกรรมที่10
ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Bolg ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่10
กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ   
ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ ๑๑ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อีสาน) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ"ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๗ ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา ๑ ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม ๕๐ ชุด แต่ละชุดมี ๑๑ แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดัง กล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ.  ๒๔๘๓ ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิด สงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด ๒๒ วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืน จังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และ พระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิด สงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่นและต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน ๔ จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมาในปี         พ.ศ. ๒๔๙๗ ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง
ภาย หลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ และในปีต่อมา เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม ๑๓ คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม ๙ คน
กระทั่งวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง ๙ ต่อ ๓ และในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว ๒๐ วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลกและสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำ ภายในสิบปี หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิด สงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ปีต่อมาก็ถูก เขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทยเมื่อปลายปีพ.ศ.๒๕๔๑๒. กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เพราะ นายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกและคนเดียวที่เพิกถอนหนังสือ เดินทางทุกประเภทของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ติดต่อทางการทูตกับหลายประเทศเพื่อให้ความร่วมมือในการมิให้นักโทษชายทักษิณ ทำร้ายประเทศไทยและยังขอความร่วมมือในการส่งตัวกลับมารับโทษทัณฑ์ในประเทศ ไทย จึงถือเป็นบุคคลอันตรายที่สุดในระบอบทักษิณ ใช่หรือไม่?
แต่ ที่น่าจับตามากที่สุดในเวลานี้ กลับเป็นเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลในเรื่องปราสาทพระวิหาร พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนอธิปไตยของไทย  ๑.๕ ล้านไร่ ตลอดจนผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่อ่าวไทย ที่ฝ่ายกัมพูชากำลังรุกล้ำอย่างหนัก ซึ่งเชื่อว่า ไม่สามารถที่จะเจรจากับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ยินยอมในเรื่องเหล่านี้ได้
นายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้เสนอทางออกเรื่องปราสาทพระวิหารว่า  ให้ทำหนังสือยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาส่งให้ประเทศกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกอัน เป็นที่มาของแถลงการณ์ในข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใน เวลาต่อมา ซึ่งถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวช่างบังเอิญว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงหลังไม่ได้เป็นผู้เจรจากับนายฮุน เซน ในเรื่องปราสาทพระวิหารและผลประโยชน์ในอ่าวไทยอีกต่อไป แต่กลับเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารและการรุกล้ำอธิปไตยของไทย แต่กลับไปเจรจาอย่างขะมักเขม้นในเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนจะไม่เหมือนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ ตามคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ว่า:
         “คิด ว่าความรุนแรงบริเวณเขาพระวิหารจะลดระดับลง อย่าไปคิดว่าเขาพระวิหารจะต้องมีอะไรโต้แย้งกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งหลายสิบปีแล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ส่วนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ก็มีส่วนอื่นๆ
        เป็น ความคิดที่เหมือนเป็นพวกเดียวกันกับ นายนพดล ปัทมะ และนายสมัคร สุนทรเวช อย่างไม่ผิดเพี้ยนยังมีเรื่องน่าประหลาดใจมากขึ้นไปอีก ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงเน้นไมตรีระหว่างประเทศจนมองข้ามการเจรจาเรื่องอธิปไตยในพื้นที่รอบ ปราสาทพระวิหาร มุ่งเน้นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยแทน ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับรัฐบาลหุ่นเชิดเมื่อปีที่แล้ว
        ทำ ให้นึกถึงข่าวประจานของฝ่ายกัมพูชาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการเจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารมาแลกเปลี่ยนปะปนกับผลประโยชน์ทาง ทะเล เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.ศ ๒๕๕๑ จากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี (The Cambodia Daily)โดยระบุถึงคำให้สัมภาษณ์ของ นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า:
     “ฝ่าย ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผล ประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา (ไทย) ต้องการโยง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาล นายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า ต้องการให้คนที่มีความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
          สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง ๒ ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ
          “ ผมคิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดูในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไรให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี ๔๓ กลายเป็นจำเลยของสังคม มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าว
กองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระวิหาร

4)  กรณี คนไทย ๗ คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่ มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก ๒ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขต พื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นัก ศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่ ๗ ม.ค. โดยอ้างหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ และสื่อท้องถิ่นของกัมพูชา ที่ระบุว่า กอย เกือง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า การพิจารณาคดี  ๗ คนไทยที่ถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำดินแดนของกัมพูชานั้น ไม่มีความเกี่ยวข้อง และถือเป็น "คนละประเด็น" กับเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและไทย
โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยเรื่องดังกล่าวที่กรุงพนมเปญโดยยืนยันว่า กรณีของ  ๗ คนไทย ไม่ควรถูกนำมาโยงเป็นเรื่องเดียวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนบ้านทั้ง ๒ประเทศ เพราะถือเป็นคนละประเด็นที่ต้อง"แยก" ออกจากกัน พร้อมย้ำว่า ในเวลานี้ต้องปล่อยให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น โดยที่ฝ่ายอื่นยังไม่ควรเข้าไปก้าวล่วง
อย่าง ไรก็ดี โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะร้องขอให้มีการอภัยโทษแก่คนไทยทั้ง ๗ คนในภายหลัง หากศาลกัมพูชามีคำพิพากษาความผิดของทั้งหมดออกมาแล้ว
ทั้งนี้ ทางการกัมพูชายังไม่มีการกำหนดวันตัดสินคดีของทั้ง ๗ คน ไทยอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่หากศาลตัดสินว่าทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก็อาจต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำของกัมพูชาสูงสุดเฉพาะข้อหานี้เป็นเวลานานถึง ๑๘ เดือน