วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

กิจกรรมที่11
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
       
        ปัจจุบันการศึกษาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดของมนุษย์  เพราะการศึกษามีบทบาทต่อการพัฒนา  ความมั่นคง  ความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นอันมาก  การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์และการสร้างพลังในการพัฒนาประเทศ  ดังนั้นการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกด้าน   ได้แก่ ร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  สังคม  และมีคุณธรรม  มีความรู้  จริยธรรมและมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข  การจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงต้องเป็นการศึกษาที่ต่อเนื่องตลออดชีวิต
      การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี  ความรู้คู่คุณธรรม  ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์  และมีวิสัยทัศน์ที่ดีกว้างไกล  ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

หลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
 .เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
.มีการเรียนรู้หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว  หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
.เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
.เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
.เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผุ้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุขโดยครูผู้สอนต้องลดบทบาทและปรับเปลี่ยนกระบวนการของตนจากการเป็นผู้บอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนมาเป็นผู้สนับสนุน  ผู้ชี้แนะ  ที่ปรึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนมากที่สุดตามศักยภาพของแต่ละบุคคล จัดประสบการณ์ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง  โดยมีครูและนักเรียนร่วมกันบอกแหล่งความรู้การพัฒนาความมั่นคง  ความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นอันมาก  การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์และการสร้างพลังในการพัฒนาประเทศ  ดังนั้นการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกๆด้าน   ได้แก่ ร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  สังคม  และมีคุณธรรม  มีความรู้  จริยธรรมและมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข  การจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงต้องเป็นการศึกษาที่ต่อเนื่องตลออดชีวิต

 

                                            แผนการจัดการเรียนรู้
                          
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยที่   พูดดีมีเสน่ห์                                                  เวลา        ชั่วโมง
เรื่อง   วิเคราะห์วรรณกรรม                                              เวลา         ชั่วโมง
  
                                                                                 วันที่…..เดือน…….......

มาตรฐาน ท ๑.. ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ติดสินใจแก้
                                  ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

มาตรฐาน ท ๕. เข้าใจและแสดงความคิดเห็นวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย
                                 อย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง


สาระสำคัญ
     การอ่านวิเคราะห์เนื้อหาจากบทเรียนเป็นการเพื่อจับใจความสำคัญแล้วแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์และประเมินค่า เป็นพื้นฐานที่จำเป็นในการศึกษาหาความรู้  จึงควรฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ  จนสามารถวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น ในงานเขียนทุกประเภทได้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑.  นักเรียนจับใจความสำคัญของเรื่องได้ 
๒.  นักเรียนแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ และประเมินค่าได้อย่างมีเหตุผล
๓.  นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องได้
  
สาระการเรียนรู้
  บทเรียนเรื่อง  เพื่อนกัน”   แสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์และประเมิน

กระบวนการจัดการเรียนรู้
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนการเรียนรู้
๒.  สนทนากับนักเรียนเรื่อง  การพูด  ,  มีเสน่ห์  ”   ว่ามีความหมายอย่างไร  มีความสำคัญอย่างไร 
๓.  ครูยกตัวอย่างเรื่องจากประสบการณ์ให้นักเรียนฟัง  เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้กล้าแสดงออก
     ในการตอบคำถาม
๔. นักเรียนอ่านเรื่อง  พูดดีมีเสน่ห์”    ในใจแล้วจับใจความสำคัญ
๕.  แบ่งนักเรียนออกเป็น   กลุ่ม  โดยคละความสามารถ  (  เก่ง  ปานกลาง  อ่อน ) 
ให้สมาชิกแต่ละคนมีหมายเลขประจำตัว ,,,,,  ให้นักเรียนศึกษาหัวข้อต่อไปนี้
      กลุ่ม ๑  สรุปใจความสำคัญของเรื่องพูดดีมีเสน่ห์”   
     กลุ่ม ๒  บอกจุดประสงค์ของเรื่อง และความเป็นมาของเรื่อง
      กลุ่ม ๓  จัดลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร อย่างไร
      กลุ่ม ๔  สรุปและข้อคิดจากเนื้อเรื่อง
      กลุ่ม ๕  ตัวละครและลักษณะนิสัยของตัวละคร
๗.  นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารายงานหน้าชั้น   พร้อมส่งเอกสารที่ครู  เพื่อเก็บไว้ในแฟ้มสะสมงาน
 ๘.  นักเรียนสรุปความรู้เป็นแผนผังความคิดส่งครู   เพื่อเป็นการสรุปบทเรียน

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
. เรื่องเล่าประกอบการเรียน
. แบบทดสอบก่อนหลังเรียน
. หนังสือเรียน  วิชาภาษาไทย  ชั้น ม. ๑
. เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
. แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม และผลงานระหว่างเรียน

 กระบวนการวัดผลประเมินผล
๑.วิธีการวัดและประเมินผล
     ๑.๑ กิจกรรม-พฤติกรรมที่ประเมิน
      . สังเกตพฤติกรรมด้าน ความพอเพียง
      . ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
       ๓. ประเมินพฤติกรรมและผลงานระหว่างเรียน

๒.   เครื่องมือประเมินผล
      .แบบประเมินการสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินผลงาน
    .แบบทดสอบก่อนเรียน
      ๓.แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม และผลงานระหว่างเรียน

. วิธีการประเมิน
      .สังเกตรายบุคคล
    .ตรวจงานรายบุคคล
    .สังเกตพฤติกรรม และผลงานระหว่างเรียน
.เกณฑ์การประเมิน
   .สังเกตการอ่านผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘o
   .การตรวจผลงานผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ๘o

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น